อาคารหลังหนึ่ง ควรมีพื้นที่ช่องเปิดเท่าไหร่

บทความ |
เราทราบดีว่าการออกแบบพื้นที่อยู่อาศัยไม่ใช่แค่เรื่องของความสวยงาม แต่ยังต้องสอดคล้องกับกฎหมายอาคารและหลักการที่ส่งผลต่อสุขภาวะของผู้อยู่อาศัยด้วย
.
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 50 (พ.ศ. 2540) ข้อ 9 ที่แก้ไขเพิ่มเติมจากกฎกระทรวงของปี 2535 (1) ได้ระบุไว้ว่า “การระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ ให้ใช้เฉพาะกับพื้นที่มีผนังด้านนอกอย่างน้อยหนึ่งด้าน โดยให้มีช่องเปิดสู่ภายนอกอาคารได้ เช่น ประตู หน้าต่าง หรือบานเกล็ด ซึ่งต้องเปิดไว้ระหว่างใช้สอยพื้นที่นั้นๆ และพื้นที่ของช่องเปิดนี้ต้องเปิดได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่นั้น”
.
หรือสรุปง่ายๆ ก็คือ ห้องใดก็ตามที่มีผนังด้านนอก ต้องมีช่องเปิดสู่ภายนอก เช่น หน้าต่าง ประตู หรือช่องลม รวมกันแล้วต้องเปิดได้ไม่น้อยกว่า 10% ของพื้นที่ห้อง ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ใช้กับอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ทั้งนี้ เพื่อระบายอากาศให้เพียงพอและลดความอับชื้นที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว เราสามารถนำข้อกำหนดดังกล่าวไปปรับใช้กับบ้านพักอาศัยหรืออาคารแบบอื่นๆ ได้เช่นกัน
.
[ ตัวอย่างการคำนวณ ]
สมมติว่าคุณกำลังออกแบบห้องขนาด 4 x 10 เมตร พื้นที่ห้องรวมคือ 40 ตารางเมตร ทำให้ช่องเปิดที่ต้องมีขั้นต่ำ = 40 x 10% = 4 ตารางเมตร
.
นั่นหมายความว่าเราต้องออกแบบหน้าต่างหรือประตูรวมกันไม่น้อยกว่า 4 ตารางเมตร หากไม่ถึงตามที่กำหนด ก็ต้องใช้การระบายอากาศแบบกล โดยใช้เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องระบายอากาศที่ทำงานตลอดเวลาที่ใช้งานห้องนั้น และต้องคำนวณให้การระบายอากาศไม่น้อยกว่าจำนวนเท่าของปริมาตรห้องใน 1 ชั่วโมง ทั้งนี้ อัตราการระบายอากาศของแต่ละสถานที่จะมีความแตกต่างกันไป
.
[ ผลเสียของการระบายอากาศไม่เพียงพอ ]
• เกิดการสะสมของความชื้น เชื้อรา และแบคทีเรีย อาจส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิแพ้หรือโรคหอบหืด
• เกิดการสะสมของสารพิษในอาคาร เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) หรือ VOCs (Volatile Organic Compounds) ซึ่งอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองตา จมูก หรือผิวหนัง และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงในระยะยาว
• เกิดการขาดออกซิเจนและการสะสมของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า ปวดศีรษะ และลดสมาธิ
.
ในกรณีบ้านพักอาศัยที่ไม่ได้ถูกระบุอัตราส่วนพื้นที่ช่องเปิดในกฎกระทรวง ควรเพิ่มการติดตั้งช่องเปิดให้มากกว่า 10% เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ลดความอับชื้น และเพิ่มแสงธรรมชาติ นอกจากนี้ ช่องเปิดที่เหมาะสมยังช่วยสร้างความรู้สึกโปร่งโล่ง ลดความอึดอัด และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย
.
อย่างไรก็ดี ควรพิจารณาทิศทางของช่องเปิด เช่น หลีกเลี่ยงการติดตั้งในทิศตะวันตกที่มีแดดจัดเกินไป และเลือกใช้ช่องเปิดที่มีความแข็งแรง ทนต่อแรงลม และสภาพอากาศแปรปรวนของไทยในปัจจุบัน
.
สำหรับพวกเรานักออกแบบ การออกแบบที่ดีคือการสร้างสมดุลระหว่างฟังก์ชัน ความสวยงาม และความยั่งยืน การออกแบบให้มีช่องเปิดอย่างเพียงพอไม่เพียงช่วยในเรื่องสุขภาวะของผู้อยู่อาศัย แต่ยังช่วยเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอก เพิ่มแสงธรรมชาติ และยกระดับคุณภาพชีวิตในระยะยาว
.
ผู้ออกแบบคนไหนมองหาผู้ผลิตระบบบานอลูมิเนียมแบบครบวงจร ทุกแบบบาน พร้อมคุณสมบัติป้องกันน้ำรั่ว ป้องกันฝุ่นและอากาศไหลผ่าน ช่วยลดเสียงเมื่อปิดบาน รวมถึงมีขนาดกรอบเฟรมและสีให้เลือกหลาย ก็สามารถติดต่อเข้ามาหาเราไทยเม็ททอลได้เลย “ไทยเม็ททอล พร้อมทำให้ทุกเรื่องอลูมิเนียมเป็นเรื่องง่ายและธรรมดาสำหรับผู้ออกแบบทุกคน”
.
อ้างอิง
– กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 >>> https://buildingcodethailand.blogspot.com/p/55-2543.html
– กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 >>> https://download.asa.or.th/03media/04law/cba/mr/mr35-33-
แชร์