• Home
  • Blog
  • บทความ
  • Safety Factor การออกแบบแบบเผื่อไว้ เพื่อความปลอดภัยที่มากกว่า

Safety Factor การออกแบบแบบเผื่อไว้ เพื่อความปลอดภัยที่มากกว่า

บทความ |
“การออกแบบเหล็กเผื่อไว้ ให้คานบ้านหลังนี้แข็งแรงกว่าปกติหน่อย… ผมคิดให้อาคารนี้ทนไฟได้นานกว่าที่กฎหมายกำหนดเผื่อไว้ครับ… ฉันขอหลังคาแข็งแรงๆ หน่อย เผื่อไว้กันพายุเข้า…”
.
เหล่านี้ เป็นตัวอย่างการของนักออกแบบเมื่อต้องคุยกับวิศวกรหรือเจ้าของบ้าน ที่จะต้องมีการ ‘เผื่อไว้’ ให้อาคารปลอดภัย เป็นการใส่ Safety Factor เผื่อไว้กันอันตรายหรือสิ่งไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
.
ซึ่งส่วนใหญ่เราก็มักจะโฟกัสกับเรื่องการรับน้ำหนัก หรือความสูง แต่อีกสิ่งที่หลายๆ คนอาจมองข้ามไปนั้นก็คือเรื่อง ‘แรงลม’ เรามักจะเผื่อการป้องกันแรงลมไม่ค่อยเยอะ ทำให้เราจะเห็นปัญหาบ้านพังเวลาเกิดพายุฟ้าฝนในไทยบ่อยครั้ง ซึ่งการป้องกันแรงลมไม่เพียงแต่ดูที่โครงสร้างอาคาร หรือโครงสร้างหลังคาเท่านั้น แต่รวมไปถึง ‘ช่องเปิด’ ต่างๆ ด้วย
.
บรรดาช่องเปิดและช่องแสงของอาคารก็ควรจะมีการออกแบบหรือสเปคเผื่อไว้เพื่อป้องกันแรงลม ซึ่งปกติค่าต้านทานแรงลม หน่วยเป็นพาสคัล (Pa) ในอาคารความสูงทั่วไป เช่นที่ความสูง 10-20 เมตร จะแนะนำให้อยู่ที่ 800-1200 Pa
.
ซึ่งชุดบานเลื่อนยูโร X20 จากไทยเม็ททอล ได้มีการออกแบบให้สามารถป้องกันแรงลมเพื่อความปลอดภัยเอาไว้ ซึ่งสามารถป้องกันได้เทียบเท่าถึงระดับพายุโซนร้อน (Tropical Storm) ที่มักเกิดขึ้นบ่อยในบ้านเรา โดยชุดหน้าต่างจะรับแรงลมได้ถึง 2,000 Pa และประตูสามารถรับได้ 1,200 Pa
.
ซึ่งผู้ออกแบบคนไหนสนใจชุดบานเลื่อนยูโร X20 จากไทยเม็ททอล ที่ออกแบบอย่างสวยงาม มาพร้อมการต้านทานแรงลม สำหรับเผื่อความปลอดภัยเอาไว้ ก็สามารถติดต่อสอบถามได้ตามช่องทางด้านล่างนี้เลย
.
“ไทยเม็ททอล พร้อมทำให้ทุกเรื่องระบบบานอลูมิเนียม ให้เป็นเรื่องง่ายและธรรมดาสำหรับผู้ออกแบบทุกคน”
แชร์