วันนี้ จะมาพูดถึง Stack Effect หรือ Stack Ventilation เพื่อการสร้างการไหลเวียนของอากาศในอาคารกัน เพราะหากย้อนกลับไปในตอนที่พวกเรานักออกแบบเรียนเรื่อง Green Building ในส่วนของสภาวะน่าสบายในอาคาร อาจารย์ท่านก็อาจจะพูดถึงชื่อปรากฏการณ์หนึ่งที่เรียกว่า Stack Effect หรือบ้างก็เรียกว่า Stack Ventilation ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ความร้อนลอยตัวสูงขึ้นและอากาศที่อุณหภูมิต่ำกว่าจะมาแทนที่ ทำให้เกิดการไหลเวียนอากาศ ซึ่งสถาปนิกตั้งแต่อดีตที่เข้าใจปรากฏการณ์นี้ก็จะผสมกับงานออกแบบ โดยการทำหน้าต่างหรือช่องเปิดให้ลมร้อนระบายออกด้านบน และทำช่องเปิดด้านล่างที่ระดับต่ำกว่า เพื่อให้อากาศที่เย็นไหลมาแทนที่
.
คำถามต่อมาที่หลายคนอาจคิดคือ การออกแบบบ้านหรืออาคารทั่วไป ช่องเปิดควรเป็นอย่างไร มีความสูงที่แตกต่างกันระหว่างหน้าต่างลมเข้าและลมออกเท่าไร จึงจะระบายอากาศได้ดีที่สุด
.
ซึ่ง 2030 Palette แพลตฟอร์มด้านการออกแบบและสิ่งแวดล้อมทางตะวันตก ได้บอกว่า “สำหรับบ้านพักอาศัย ระดับความสูงของช่องเปิดที่ให้อากาศเข้าและออก ควรจะห่างกันอย่างน้อย 3 เมตร ถ้าเป็นอาคารพาณิชกรรม ก็อาจให้ต่างกัน 4.6 เมตร ซึ่งการทำให้เกิด Stack Effect ในอาคารจะช่วยลดอุณหภูมิแบบ Passive ได้อย่างน้อยถึง 1.7 องศาเซลเซียส”
.
ส่วนของไทยเราก็เคยมีงานวิจัยเรื่อง Stack Ventilation เช่นกัน ซึ่งช่องระบายอากาศหรือปล่องระบายอากาศของไทยจะสูงหน่อย โดยช่องด้านบนสูงระดับประมาณ 9-10 เมตร หรือประมาณใต้หลังคาของบ้าน 2 ชั้น หรือประมาณหน้าจั่วของบ้าน และควรใช้ช่องเปิดหน้าต่างขนาดประมาณ 1.5-3.5 ตารางเมตร
.
อย่างไรก็ดี ขนาดของช่องเปิด ระดับความสูง และการติดตั้งอาจจะไม่มีคำตอบตายตัว เพราะแต่ละอาคารย่อมแตกต่างกันไปทั้งเรื่องที่ตั้งและบริบทอื่นๆ หากต้องการความแม่นยำ การลดอุณหภูมิและถ่ายเทอากาศให้ได้มากที่สุด ควรคุยกับทีมที่ปรึกษาเทคโนโลยีอาคารด้าน Passive Ventilation เพื่อร่วมออกแบบในโครงการ
.
นักออกแบบสามารถออกแบบทำ Double Volume และใช้ระบบบานอลูมิเนียมไทยเม็ททอล บานเปิด บานเลื่อน หรือบานกระทุ้งที่ชั้น 2 รวมถึงทำช่องเปิดเข้าด้วยบานเปิดขนาดใหญ่ที่ชั้นล่าง ให้เกิดการไหลเวียนของอากาศภายในอาคาร และสามารถติดต่อสอบถามเข้ามาหาเราเพื่อร่วมพัฒนาช่องเปิดให้ตรงความต้องการ เพื่อการสร้าง Stack Ventilation สร้างการไหลเวียนและระบายอากาศในอาคารที่คุณออกแบบได้แบบมีประสิทธิภาพที่สุด “ไทยเม็ททอล เราพร้อมทำให้ทุกเรื่องงานอลูมิเนียมเป็นเรื่องง่ายและธรรมดาสำหรับนักออกแบบทุกคน”
—
อ้างอิง
– https://2030palette.org/stack-ventilation/
– ชลธิษฐ์ ถนัดศิลปะกุลม 2546, แนวทางการออกแบบปล่องระบายอากาศสำหรับบ้านพักอาศัยในประเทศไทย,วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– Abd Wahab, I., & Ismail, L. (2012). NATURAL VENTILATION APPROACH IN DESIGNING URBAN TROPICAL HOUSE.
– Nedhal, A.-T., & Syed Fadzil, S. (2011). Thermal Performance Analysis for Ventilated and Unventilated Glazed Rooms in Malaysia (Comparing Simulated and Field Data). Indoor and Built Environment – INDOOR BUILT ENVIRON, 20, 534-542. https://doi.org/10.1177/1420326X11411235