• Home
  • Blog
  • บทความ
  • ตำแหน่งและขนาดช่องเปิดเพื่อการเปิดรับลม-ระบายอากาศ

ตำแหน่งและขนาดช่องเปิดเพื่อการเปิดรับลม-ระบายอากาศ

บทความ |
เรื่อง Ventilation และการไหลเวียนอากาศในอาคาร ผมว่าเป็นสิ่งที่นักออกแบบและสถาปนิกจะได้ร่ำเรียนจากอาจารย์ในคณะกันตั้งแต่ปีแรกๆ นักออกแบบหลายคนก็อยากให้อากาศในบ้านถ่ายเทได้ดี เปิดรับลมธรรมชาติอย่างเต็มที่ วันนี้ทางเพจ TMADA จึงอยากจะมาชวนพูดคุยเรื่องช่องเปิดและการระบายอากาศ และการเลือกใช้บานอลูมิเนียมกันครับ
.
การเปิดรับลมธรรมชาติ
หนึ่งในหลักสำคัญของเรื่องการไหลเวียนอากาศในอาคาร ก็คือเมื่อมีช่องลมเข้าก็ต้องมีช่องลมออก ทำให้การมีช่องเปิดด้านเดียว โอกาสที่ลมจะเข้านั้นจึงน้อย จึงไม่แปลกครับว่าทำไมอาคารชุดหรือหอพักหลายๆ ที่ที่ออกแบบไม่ดี เราก็มักจะเห็นคนที่อยู่ในห้องนั้นชอบเปิดประตูที่โถงทางเดินเพื่อให้เกิดลมไหลเวียนในห้องของเขา
และการจะทำให้มีการไหลเวียน-ถ่ายเทอากาศดีขึ้นไปอีก ก็ควรออกแบบให้ช่องเปิดนั้นเยื้องกัน เป็น Cross Ventilation เพราะหากช่องเปิดวางตรงกัน ลมก็จะพุ่งออกไปตรงๆ ส่วนอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในแนวการพัดของลม ก็อาจจะไม่ได้รับลมเท่าไร
.
เรื่องที่อาจลืมนึกถึงของเรื่อง Ventilation
อย่างไรก็ดีครับ สิ่งที่นักออกแบบมือใหม่หลายคนชอบมองข้ามไปของการเปิดรับลมรับอากาศ ก็คือ เรื่องของสิ่งรบกวนต่างๆ ที่พบได้ในประเทศไทยเรา โดยเฉพาะอย่าง เรื่องของปัญหาฝุ่นละออง กลิ่น มลพิษต่างๆ ซึ่งเราอาจบอกว่ายังไงมันก็จะเข้าเวลาเปิด แต่ถ้าหากปิดแล้วยังเข้าอีก ก็จะเท่ากับว่าผู้อาศัยในอาคารที่เราออกแบบก็จะรับฝุ่น กลิ่น และมลพิษต่างๆ เข้าตลอดเวลา
.
อาจจะดีกว่าครับ หากพวกเรานักออกแบบเลือกบานหน้าต่างและช่องเปิดที่มีการออกแบบที่ป้องกันสิ่งเหล่านี้ไว้ตั้งแต่แรก อย่าง บานเลื่อนไทยเม็ททอลรุ่น X-Series ที่มีการออกแบบสวยงาม ใช้เปิดระบายอากาศได้ดี ไร้เสียงรบกวน และที่สำคัญยังมีการออกแบบระบบเฟรมให้สามารถป้องกันลมผ่าน กลิ่น ฝุ่นละออง และมลพิษต่างๆ ที่จะเข้ามาเมื่อปิดบาน
.
และถ้าจะให้ดี ผู้ออกแบบก็อาจมีการออกแบบระบบกรองอากาศภายในอาคารด้วย เพื่อให้มลพิษหรือฝุ่นละอองที่เข้ามาก่อนปิดบานนั้นหายไป
.
ซึ่งผู้ออกแบบคนไหนกำลังมองหาเฟรมอลูมิเนียมเพื่อนำไปใช้กับโครงการอาคารของคุณ ก็สามารถมาหาเราไทยเม็ททอลได้ เราพร้อมให้คำปรึกษาทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบเฟรม-บานอลูมิเนียม
“เราพร้อมทำเรื่องบานอลูมิเนียมให้เป็นเรื่องง่ายและธรรมดาสำหรับผู้ออกแบบทุกคน”
แชร์