- Home
- การออกแบบประตู-หน้าต่าง
- การออกแบบตามชนิดสินค้า
- ประตู-หน้าต่างบานเลื่อน
ประตู-หน้าต่างบานเลื่อน

“บานเลื่อน” สามารถทำได้ทั้งประตูและหน้าต่าง ด้วยคุณสมบัติที่ช่วยประหยัดเนื้อที่ ใช้งานง่าย เปิดด้วยการเลื่อนบานจากซ้ายไปขวา (หรือขวาไปซ้าย) จึงเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้ตัวบ้าน และสะดวกต่อการใช้งาน บานเลื่อนคือประตูที่เลื่อนเปิดด้วยลูกล้อและรางที่อยู่ในวงกบ และมีรางมุ้งที่ติดมากับระบบรางอยู่แล้ว บานเลื่อนสามารถแบ่งย่อยออกได้หลายรูปแบบ








ตัวอย่างรูปแบบบานเลื่อน
บานเลื่อนสำหรับใช้ภายนอก มีความจำเป็นต้องรองรับน้ำ ลม ฝุ่น เสียง แรงกระแทก หรือ มีขนาดใหญ่พิเศษ จึงมาพร้อมธรณีและเฟรมวงกบที่กันน้ำรอบตัว ไทยเม็ททอลมีทั้งระบบไทยมาตรฐาน และ ระบบชุดพัฒนา (X-Series) ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการกันน้ำที่ดีกว่า ทำบานได้ใหญ่กว่า และกันเสียง กันแมลงต่างๆได้มากกว่า โดยการติดตั้งควรคำนึงถึงขนาด และระยะของเฟรม เพื่อให้ขอบปูนหรือระดับพื้นสอดคล้องกับระยะเฟรม
ประตูบานเลื่อน ติดตั้งภายนอก ระบบชุดพัฒนา X-Series รุ่น X20
ประตูบานเลื่อน ระบบชุดพัฒนา (X-Series) รุ่น X20 ใส่ตบธรณีเพิ่ม เพื่อความเรียบร้อย สวยงาม
หน้าต่างบานเลื่อน ติดตั้งภายนอกบ้าน ระบบชุดพัฒนา X-Series รุ่น X20
หน้าตัดเฟรมล่าง ระบบชุดพัฒนา X-Series รุ่น X20
หน้าต่างบานเลื่อน ติดตั้งภายนอกบ้าน ระบบชุดพัฒนา X-Series รุ่น X10
หน้าตัดเฟรมบน-ล่าง ระบบชุดพัฒนา X-Series รุ่น X10
รางประตู-หน้าต่างบานเลื่อน ติดตั้งภายนอก ระบบไทยมาตรฐาน
หน้าตัดเฟรมล่าง (ขาเตี้ย) ระบบไทยมาตรฐาน
บานเลื่อนสำหรับใช้งานภายใน หรือ พื้นที่ใต้ชายคา ที่ไม่ได้รับน้ำฝน ลม ฝุ่นต่างๆ จะเน้นไปที่การแบ่งพื้นที่ กั้นห้อง หรือใช้งานในจุดที่ไม่ต้องการธรณีประตู การติดตั้งควรคำนึงถึงฟังค์ชั่นการใช้งานของพื้นที่เพื่อเลือกรุ่นให้เหมาะสม ปัจจุบัน บานเลื่อนสำหรับใช้ภายในมีให้เลือกใช้ 2 แบบ คือ บานเลื่อนรางแขวน หรือที่เรียกว่าบานแขวน (ไม่มีธรณี) และบานเลื่อนธรณีหลังเต่า (ธรณีลาดไปกับพื้น)
บานเลื่อนรางแขวน (ไม่มีธรณี)
บานเลื่อนธรณีหลังเต่า (ธรณีลาดไปกับพื้น)
หน้าตัดเฟรมล่างหลังเต่า 2 ราง
หน้าตัดเฟรมล่างหลังเต่า 3 ราง
ความแตกต่างของประตู-หน้าต่างบานเลื่อนระบบไทยมาตรฐาน และระบบพัฒนา อาจสังเกตได้จาก “เฟรมล่าง” หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ราง” เพราะเฟรมล่างหรือรางของระบบพัฒนาจะถูกออกแบบให้ช่วยกันน้ำ รวมถึงป้องกันสิ่งแปลกปลอมมากกว่าระบบไทย (ชุดท้องตลาดทั่วไป)
เปรียบเทียบหน้าตัดเฟรมล่าง ระบบไทยมาตรฐาน และระบบพัฒนา
เปรียบเทียบบานเลื่อนระบบไทยมาตรฐาน และระบบพัฒนา แบบ Side View
การออกแบบบานเลื่อน สามารถกำหนดจำนวน และ การแบ่งบานให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ ตั้งแต่ 2 บาน 3 บาน และ 4 บาน โดยบานประตูอาจเลื่อนได้เป็นบางบานหรือเลื่อนได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเลื่อนไปในทางเดียวกันเพื่อเก็บที่ฝั่งใดฝั่งหนึ่งของประตู หรือเลื่อนสลับจากแต่ละด้านเข้าหากัน โดยคำนึงถึงทิศทางการเดินเข้าออกของผู้ใช้งานเป็นสำคัญ
บานเลื่อน 2 บาน เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยม เพราะมีขนาดที่เหมาะสมกับพื้นที่ของบ้านพักอาศัยในไทยส่วนใหญ่ เจ้าของบ้านสามารถกำหนดให้เลื่อนสลับได้ทั้ง 2 ฝั่ง (Slide-Slide) หรือจะเลื่อนแค่บานเดียวก็ได้ (Slide-Fix)
บานเลื่อนสลับ 2 บาน ที่เลื่อนสลับจากแต่ละด้านเข้าหากัน (Slide – Slide)


ประตู-หน้าต่าง บานเลื่อน 2 บาน
บานเลื่อน 3 บาน หรือบานลากจูง (Slide-Slide-Fix) ช่วยให้ได้พื้นที่การเปิดถึง 2 ใน 3 ของพื้นที่บาน เพราะสามารถเลื่อน 2 บานให้เก็บซ้อนกันในตำแหน่งของบาน Fix เพื่อให้มีพื้นที่ใช้สอยในการเข้า-ออกเพิ่มมากขึ้น
บานเลื่อนลากจูง 3 บาน ที่เลื่อนเปิดบานไปในทิศทางเดียวกัน (Slide-Slide-Fix)


ประตู-หน้าต่าง บานเลื่อนลากจูง 3 บาน
บานเลื่อนแบ่ง 4 บาน (Fix-Slide-Slide-Fix) จะเปิดตรงกลางเพื่อให้บานซ้าย-ขวา เลื่อนไปซ้อนเก็บอยู่ในตำแหน่งบาน Fix ด้านข้างของทั้งสองฝั่ง
บานเลื่อนแบ่ง 4 บาน (Fix – Slide – Slide – Fix)


ประตู-หน้าต่าง บานเลื่อน แบ่ง 4 บาน
หากสังเกตบานเลื่อนที่มีหลายๆบาน เจ้าของบ้านจะเห็นว่าเสาแนวตั้งในประตู-หน้าต่างอาจมีขนาดเท่ากันหรือต่างกัน เสาเหล่านี้ทำหน้าที่ยึดกระจกให้เลื่อนไปตามรางบนและรางล่างเพื่อเปิด-ปิดบาน โดยเสาที่เราเห็นจะมีอยู่ 2 แบบ คือ เสากุญแจ และเสาเกี่ยว
ภาพแสดงตำแหน่ง “เสากุญแจ” และ “เสาเกี่ยว”
เสากุญแจ คือ เสาที่ติดตั้งอุปกรณ์ล๊อคของบานประตู-หน้าต่าง เพื่อทำหน้าที่ล็อคระหว่างบานด้วยกัน หรือล็อคระหว่างตัวบานกับเฟรม (เฟรม = วงกบที่ติดตั้งกับผนังปูน) ขนาดความกว้างมาตรฐานของเสากุญแจทั่วไปคือ 5 ซม.
เสากุญแจ ทำหน้าที่ล็อคบาน
เสาเกี่ยว จะทำหน้าที่เกี่ยวระหว่างตัวบาน เพื่อลากจูงอีกบานให้เลื่อนเปิดหรือปิด โดยไทยเม็ททอลมีเสาเกี่ยวให้เลือก 2 ขนาด คือกว้าง 3 ซม. และ 5 ซม. ตามความต้องการของเจ้าของบ้าน เช่น หากต้องการให้ทุกเสาของประตูหน้าต่างมีขนาดเท่ากัน ก็สามารถเลือกใช้เสาเกี่ยวขนาด 5 ซม. เพื่อให้ภาพรวมดูสมมาตร
เสาเกี่ยว ทำหน้าที่เกี่ยวระหว่างตัวบานให้เลื่อนเปิด-ปิด
หากเจ้าของบ้านทราบความต้องการของตนเองว่าอยากให้บานประตู-หน้าต่างรองรับการใช้งานแบบไหน ก็ควรแจ้งผู้ติดตั้งหรือช่างอลูมิเนียมก่อนตั้งแต่แรก เพื่อให้ได้ระบบที่ตอบโจทย์ที่สุดนั่นเอง เพราะถ้าหากเลือกผิดประเภท อาจจะได้ประตูหน้าบ้านที่เปิด-ปิดได้ลื่น น้ำหนักเบา แต่ไม่กันฝนและฝุ่น หรือ อาจจะได้ประตู-หน้าต่างภายในอาคารที่มีธรณี ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเดินสะดุดหกล้มได้
“ไทยเม็ททอล อลูมิเนียม” ผู้ผลิตอลูมิเนียมเส้นสำหรับประตู-หน้าต่างอลูมิเนียมครบวงจร เทียบเท่างานอุตสาหกรรมในระดับมาตรฐานสากล เรามุ่งมั่นพัฒนากระบวนการผลิตด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัย และส่งมอบอลูมิเนียมเส้นคุณภาพสูงที่ปราศจากสารก่อมะเร็ง ปลอดภัยกับผู้ใช้งาน ทั้งพนักงาน ช่างอลูมิเนียม และเจ้าของบ้าน เพื่อนำไปประกอบติดตั้งเป็นประตู-หน้าต่างที่สวยงาม แข็งแรง ทนทาน อยู่คู่กับบ้านคุณไปยาวนาน
เรามีตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ หากท่านต้องการติดตั้งประตู-หน้าต่าง สามารถเจาะจงเลือกใช้อลูมิเนียมเส้นคุณภาพสูงจากไทยเม็ททอลผ่านผู้รับเหมา ช่างอลูมิเนียม หรือตัวแทนจำหน่ายใกล้บ้านท่านได้ทั่วไทย